รวมกลุ่มสาน

                   พัฒนาอาชีพ-ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถักสานตะกร้า ถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ได้มอบให้นักพัฒนาชุมชนจัดทำโครงการพัฒนาสตรี ฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านหนองนา หมู่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้าน ทำให้เกิดรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากอบายมุข ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ประเพณีการถักสานด้วยมือ ซึ่งโครงการนี้จะทำให้กลุ่มแม่บ้าน นักเรียน และเยาวชน ผู้เข้าร่วมมีรายได้จากการจัดทำตะกร้าถักสานด้วยเชือกมัดฟาง เพื่อนำไปจำหน่ายในท้องตลาด ผู้เข้าร่วมทุกคนเกิดทักษะความชำนาญการทำตะกร้าถักสานด้วยเชือกมัดฟาง และยังสามารถถ่ายทอดการทำให้กับคนอื่นได้ และเพิ่มความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน นักเรียน และเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการ นายธง กาฬภักดี นายกเทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาผลผลิตทางด้านการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรซึ่งมีรายได้น้อยต้องรับภาระรายจ่ายสูงไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงทำให้กลุ่มสตรีแม่บ้าน บ้านหนองนา หมู่ 6 ต.หนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี และหมู่บ้านใกล้เคียง ได้รวมกลุ่มกันถักสานเชือกมัดฟางขึ้น ซึ่งการถักทอนั้นเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน แต่เดิมเริ่มจากการถักทอแห อวน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจับปลา มาช่วยในการดำรงชีวิตประจำวัน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาถักทอแห อวนและเปลนอนไปจำหน่ายตามที่พ่อค้าคนรับซื้อจะสั่งทำ แต่ต้องใช้ระยะเวลานานและมีต้นทุนในการผลิต ทำให้บางรายเลิกทำไปก็มี ซึ่งต้องลงทุนไปซื้อเส้นด้ายขาวมาจากตลาด แล้วจึงนำมาถักแห อวน ซึ่งต้องใช้ความอดทน ความมานะพยายามอย่างยิ่ง แต่ก็ยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่เดินทางมารับซื้ออีกต่างหาก โดยการกดราคาผู้ทำ แต่ก็ยังอดทนทำงานส่งเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวในยามที่ข้าวยากหมากแพงและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง และเริ่มทำตะกร้าที่ถักสานด้วยเชือกมัดฟางขึ้น โดยการไปศึกษาเรียนรู้จากหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งก็นำมาประยุกต์ลวดลายและสีสัน ให้ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อที่จะได้นำไปจำหน่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่หนองกระทุ่ม และพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับฝีมือในการทำที่ประณีตและละเอียดมีลวดลายที่เกิดจากความคิดและภูมิปัญญาจากการเคยถักแห อวน อยู่แล้ว จึงทำให้สินค้าผลิตภัณฑ์จากตะกร้าที่ถักสานด้วยเชือกมัดฟางมีมูลค่าขึ้น ทำให้กลุ่มสตรีมีรายได้เสริมจากการทำตะกร้าถักสานด้วยเชือกมัดฟาง ช่วยลดภาระรายจ่ายในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพในกลุ่ม ที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้ ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง นายธง กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาสตรี ฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านหนองนา หมู่ 6 นี้ได้ประสานการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากวิทยากร ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดิมบางนางบวช (กศน.) แล้วนำกลุ่มแม่บ้านเข้าฝึกอบรมการทำตะกร้าถักสานด้วยเชือกฟาง เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญและเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ตลอดจนส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นการถักสานตะกร้า รวมทั้งถ่ายทอดให้กับอนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเป็นที่แพร่หลายต่อไปด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้าน ทำให้เกิดรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากอบายมุข ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ประเพณีการถักสานด้วยมือ โดยมีเป้าหมายคือ กลุ่มสตรีแม่บ้าน และเยาวชน เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 50 คน จัดอบรมให้แม่บ้านและเยาวชนที่สนใจ ได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะการถักสานเชือกมัดฟาง โดยสมาชิกในกลุ่มสามารถนำตะกร้าถักสานด้วยเชือกมัดฟาง นำสินค้าไปจำหน่ายทำให้เกิดรายได้เสริมในครอบครัว เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม ได้มอบให้นักพัฒนาชุมชนจัดทำโครงการพัฒนาสตรี ฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง กลุ่มพัฒนาสตรี ขึ้น ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดการทำให้กับคนอื่นได้ และเพิ่มความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน นักเรียน และเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้าน บ้านหนองนา ช่วยทำให้มีรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้เข้ารับการอบรม เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งหลายทั้งปวง ช่วยให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน และยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถักสานตะกร้าด้วยมืออีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น